เมนู

ภิกษุนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ถึงความสงสัยในวัตถุที่เรา
ไม่พยากรณ์ ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ.
จบ อัพยากตสูตรที่ 1

อัพยากตวรรคที่ 1


อรรถกถาอัพยากตสูตรที่ 1


วรรคที่ 6

สูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อพฺยากตวคฺถูสุ ความว่า ในวัตถุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
มิได้ตรัส โดยพยากรณ์มีเอกังสพยากรณ์เป็นต้น. บทว่า สตฺโต
ได้แก่ ตถาคต. บทว่า ทิฏฺฐฺคตเมตํ นี้ เป็นเพียงมิจฉาทิฏฐิ. ชื่อว่า
สัตว์ผู้ไม่ถูกทิฏฐินั้นยึดไว้ ย่อมไม่มี. บทว่า ปฏิปทํ ได้แก่ อริยมรรค.
บทว่า น ฉมฺภติ ความว่า ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจทิฏฐิ. แม้ใน
บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตณฺหาคตํ ความว่า ตัณหาอัน
สัมปยุตด้วยทิฏฐิ. แม้ในบทมีอาทิว่า สญฺญาคตํ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ด้วยว่าบรรดาบทเหล่านั้น สัญญาที่สัมปยุตด้วยทิฏฐินั่นแหละ พึง
ทราบว่า สัญญาคตะ ความหมายรู้ มานะที่อิงอาศัยทิฏฐินั้นนั่นแหละ
หรือความสำคัญหมายรู้ที่อิงอาศัยทิฏฐินั่นแหละ พึงทราบว่า มัญญิตะ
ความสำคัญหมายรู้ ธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ซึ่งอิงอาศัยทิฏฐิ

นั่นแหละ พึงทราบว่า ปปัญจิตะ ธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า อุปาทาน
ความยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่าอุปาทานความยึดมั่น
ภาวะคือความหวนระลึกผิดด้วยทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่า ชื่อว่า
วิปปฏิสาร ความร้อนใจ ก็ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงถือเอาทิฏฐิ 62 ด้วยทิฏฐิศัพท์ และทรงถือเอา
โสดาปัตติมรรคนั่นแหละ ด้วยทิฏฐินิโรธคามินีปฏิปทาศัพท์
จบ อรรถกถาอัพยากตสูตรที่ 1

2. ปุริสคติสูตร


[52] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ 7 ประการและ
อนุปาทาปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ 7 ประการเป็นไฉน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม
ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้า
กรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจ-
ขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาด้วย เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัด
ในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อม
พิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัย
คือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้
โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 สิ้นไป ภิกษุนั้น
ย่อมปรินิพพานในระหว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีต
ไม่มีแล้วไซร้...เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ... ย่อมพิจารณาเห็น
บทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ...
อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัม-